วันอาทิตย์ที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2560

การเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 1

 การเสียกรุงอยุธยาครั้งที่ 1







การเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่หนึ่งป็นส่วนหนึ่งของความขัดแย้งระหว่างอาณาจักรตองอูและอาณาจักรอยุธยา อันเป็นผลมาจากความต้องการของพระเจ้าบุเรงนองซึ่งต้องการได้กรุงศรีอยุธยาเป็นประเทศราช และอาจถือได้ว่าเป็นผลสืบเนื่องมาจากสงครามช้างเผือก ในปี พ.ศ. 2106 ที่ทรงตีกรุงศรีอยุธยาไม่สำเร็จ

สงครามช้างเผือก

ในปี พ.ศ. 2106 พระเจ้าบุเรงนองทรงยกทัพเข้ามาตีกรุงศรีอยุธยา โดยเข้ามาทางด่านแม่ละเมา กำลังประมาณ 500,000 คนพร้อมด้วยช้าง ม้า และอาวุธยุทโธปกรณ์จำนวนมาก โดยยกเข้ามาทางเมืองตาก ด้วยกำลังมากกว่าสามารถยึดหัวเมืองเหนือได้เกือบทั้งหมดโดยสะดวกจนมาถึงเมืองพิษณุโลก พระมหาธรรมราชาได้ทรงสู้เป็นสามารถและทำการป้องกันเมืองอย่างดี พระเจ้าบุเรงนองจึงขอเจรจา พระมหาธรรมราชาจึงส่งพระสงฆ์จำนวน 4 รูป เพื่อทำการเจรจาแต่ไม่เป็นผลสำเร็จ อีกทั้งในเมืองยังขาดเสบียง และเกิดไข้ทรพิษขึ้นในเมืองระบาด ด้วยสมเด็จพระมหาธรรมราชาเกรงว่าหากขืนสู้รบต่อไปด้วยกำลังคนที่น้อยกว่าอาจทำให้เมืองเมืองพิษณุโลกถูกทำลายลงเหมือนกับหัวเมืองเหนืออื่นๆก็เป็นได้ พระมหาธรรมราชา จึงยอมอ่อนน้อมต่อพระเจ้าบุเรงนอง
พระเจ้าบุเรงนอง ทรงบังคับให้พระมหาธรรมราชาและเจ้าเมืองอื่นๆถือน้ำกระทำสัตย์ให้อยู่ใต้บังคับของพม่าทำให้พิษณุโลกต้องแปรสภาพเป็นเมืองประเทศราชของหงสาวดีและไม่ขึ้นต่อกรุงศรีอยุธยา แล้วให้พระธรรมราชาครองเมืองพิษณุโลกดังเดิม แต่อยู่ในฐานะเป็นหัวเมืองประเทศราชของหงสาวดี พระเจ้าบุเรงนองทรงขอพระนเรศวรไปเป็นองค์ประกันที่หงสาวดีในปี พ.ศ. 2107 พร้อมทั้งสั่งให้ยกทัพตามลงมาเพื่อตีกรุงศรีฯด้วย
พระองค์รบชนะทัพอยุธยาที่ชัยนาท และลงมาตั้งค่ายล้อมพระนครทั้ง 4 ทิศ กองทัพพม่ายกมาประชิดเขตเมืองใก้ลทุ่งลุมพลีพระมหาจักรพรรดิทรงให้กองทัพบก เรือ ระดมยิงใส่พม่าเป็นสามารถ แต่สู่ไม่ได้จึงถอย ทางพม่าจึงยึดได้ป้อมพระยาจักรี(ทุ่งลุมพลี) ป้อมจำปา ป้อมพระยามหาเสนา(ทุ่งหันตรา) แล้วล้อมกรุงศรีฯอยู่นาน พระมหาจักรพรรดิทรงเห็นว่าพม่ามีกำลังมากการที่จะออกไปรบเพื่อเอาชัย คงจะยากนัก จึงทรงสั่งให้เรือรบนำปืนใหญ่ล่องไปยิงทหารพม่าเป็นการถ่วงเวลาให้ เสบียงอาหารหมดหรือเข้าฤดูน้ำหลากพม่าคงจะถอยไปเอง แต่พม่าได้เตรียมเรือรบ และปืนใหญ่มาจำนวนมากยิงใส่เรือรบไทยพังเสียหายหมด แล้วตั้งปืนใหญ่ยิงเข้ามา ในพระนครทุกวัน ถูกชาวบ้านล้มตาย บ้านเรือน วัด เสียหายเป็นอย่างมาก แต่ถึงแม้ว่าพม่าจะยิงปืนใหญ่เข้าสู่พระนครเป็นระยะ ๆ แต่ก็ไม่สามารถเข้าสู่ตัวเมืองได้
พระเจ้าบุเรงนองจึงมีพระราชสาส์นให้สมเด็จพระมหาจักรพรรดิทรงเลือกจะรบให้รู้แพ้รู้ชนะหรือเลือกยอมสงบศึก โดยที่สมเด็จพระมหาจักรพรรดิทรงเลือกสงบศึก อยุธยาจึงต้องยอมปฏิบัติตามข้อเรียกร้องของพม่า โดยมอบช้างเผือก 4 ช้างให้แก่พม่า มอบตัวบุคคลที่คัดค้านไม่ให้ส่งช้างเผือกแก่พม่าเมื่อครั้งก่อนสงครามช้างเผือก ได้แก่ พระราเมศวร(พระราชบุตรในพระมหาจักรพรรดิ) เจ้าพระยาจักรีมหาเสนา และพระสมุทรสงคราม ไปเป็นตัวประกัน ส่งช้างให้แก่พม่าปีละ 30 เชือก ส่งเงินให้แก่พม่าปีละ 300 ชั่ง และให้พม่ามีสิทธิเก็บภาษีอากรในเมืองมะริด โดยมีการเจรจาขึ้นบริเวณสถานที่ประทับชั่วคราวระหว่างวัดพระเมรุสาธิการรามกับวัดหัศดาวาสโดยสมเด็จพระมหาจักรพรรดิทรงต่อรองขอดินแดนของอยุธยาทั้งหมดที่พระเจ้าบุเรงนองยึดไว้คืน พระเจ้าบุเรงนองก็ถวายคืนแต่โดยดี จากนั้นพม่าก็ถอยกลับไปหงสาวดี
ถึงแม้ว่าพม่าจะได้รับประโยชน์จากข้อตกลงดังนี้ แต่พระเจ้าบุเรงนองยังไม่ทรงประสบความสำเร็จในการได้กรุงศรีอยุธยาเป็นเมืองประเทศราช ดังนั้น พระเจ้าบุเรงนองจึงทรงพยายามดำริหาวิธีในการเอาชนะกรุงศรีอยุธยา ก่อนที่จะมารบอีกครั้งหนึ่ง





       หลังจากเสร็จสิ้นสงครามช้างเผือกสมเด็จพระมหาจักรพรรดิได้ปรับปรุงบ้านเมืองเพื่อเตรียมรับศึก  รวมทั้งสร้างสัมพันธไมตรีกับพระเจ้าไชยเชษฐาธิราชแห่งอาณาจักรล้านช้าง  ซึ่งเป็นเหตุให้พระมหินทรพระราชโอรสของสมเด็จพระมหาจักรพรรดิเกิดความขัดแย้งกับพระมหาธรรมราชาเจ้าผู้ครองเมืองพิษณุโลกพระมหินทรจึงได้ให้พระเจ้าไชยเชษฐาธิราชส่งกองทัพมาช่วยตีเมืองพิษณุโลก  แต่พระมหาธรรมราชาสามารถป้องกันเมืองไว้ได้พระเจ้าบุเรงนองทรงทราบเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น  ทรงสถาปนาพระมหาธรรมราชาเป็นเจ้าประเทศราชของกรุงหงสาวดีปกครองเมืองพิษณุโลกและหัวเมืองฝ่ายเหนือโดยไม่ขึ้นต่อกรุงศรีอยุธยา
จากการขัดแย้งระหว่างพระมหาธรรมราชากับพระมหินทรทำให้ทางกรุงศรีอยุธยาอ่อนแอลง
       ในปี พ.ศ. 2111 พระเจ้าบุเรงนองยกทัพใหญ่มาหมายตีกรุงศรีอยุธยาให้แตกพ่ายกองทัพพม่าล้อมกรุงศรีอยุธยาอยู่หลายเดือนแต่ก็ยังไม่สามารถเข้ายึดได้เพราะทหารกรุงศรีอยุธยาได้ต่อสู้อย่างเข้มแข็ง   เพื่อรอให้ถึงฤดูน้ำหลากซึ่งจะทำให้กองทัพพม่าตั้งค่ายอยู่ไม่ได้  ระหว่างที่ศึกมาประชิดกรุงนั้นสมเด็จพระมหาจักรพรรดิประชวรและเสด็จสวรรคตในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2111 พระมหินทรเสด็จขึ้นครองราชย์เป็นกษัตริย์พระนามว่าสมเด็จพระมหินทราธิราช  และทรงต่อสู้ป้องกันกรุงศรีอยุธยาต่อไปหลังจากนั้นทางพม่าได้ใช้กลอุบายให้พระยาจักรีมาเป็นไส้ศึกกรุงศรีอยุธยาจึงเสียแก่พม่าในปี พ.ศ. 2112
       จากเหตุการณ์ในครั้งนี้ ทำให้สมเด็จพระมหินทราธิราชถูกจับไปเป็นเชลยที่หงสาวดี  รวมทั้งข้าราชบริพารอีกจำนวนหนึ่งและทำให้กรุงศรีอยุธยาได้กลายเป็นประเทศราชของกรุงหงสาวดีนับแต่นั้นมาซึ่งนับเป็นการสูญเสียอิสรภาพของคนไทยเป็นครั้งแรก

       หลังจากเสร็จสิ้นสงครามช้างเผือกสมเด็จพระมหาจักรพรรดิได้ปรับปรุงบ้านเมืองเพื่อเตรียมรับศึก  รวมทั้งสร้างสัมพันธไมตรีกับพระเจ้าไชยเชษฐาธิราชแห่งอาณาจักรล้านช้าง  ซึ่งเป็นเหตุให้พระมหินทรพระราชโอรสของสมเด็จพระมหาจักรพรรดิเกิดความขัดแย้งกับพระมหาธรรมราชาเจ้าผู้ครองเมืองพิษณุโลกพระมหินทรจึงได้ให้พระเจ้าไชยเชษฐาธิราชส่งกองทัพมาช่วยตีเมืองพิษณุโลก  แต่พระมหาธรรมราชาสามารถป้องกันเมืองไว้ได้พระเจ้าบุเรงนองทรงทราบเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น  ทรงสถาปนาพระมหาธรรมราชาเป็นเจ้าประเทศราชของกรุงหงสาวดีปกครองเมืองพิษณุโลกและหัวเมืองฝ่ายเหนือโดยไม่ขึ้นต่อกรุงศรีอยุธยา
จากการขัดแย้งระหว่างพระมหาธรรมราชากับพระมหินทรทำให้ทางกรุงศรีอยุธยาอ่อนแอลง
       ในปี พ.ศ. 2111 พระเจ้าบุเรงนองยกทัพใหญ่มาหมายตีกรุงศรีอยุธยาให้แตกพ่ายกองทัพพม่าล้อมกรุงศรีอยุธยาอยู่หลายเดือนแต่ก็ยังไม่สามารถเข้ายึดได้เพราะทหารกรุงศรีอยุธยาได้ต่อสู้อย่างเข้มแข็ง   เพื่อรอให้ถึงฤดูน้ำหลากซึ่งจะทำให้กองทัพพม่าตั้งค่ายอยู่ไม่ได้  ระหว่างที่ศึกมาประชิดกรุงนั้นสมเด็จพระมหาจักรพรรดิประชวรและเสด็จสวรรคตในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2111 พระมหินทรเสด็จขึ้นครองราชย์เป็นกษัตริย์พระนามว่าสมเด็จพระมหินทราธิราช  และทรงต่อสู้ป้องกันกรุงศรีอยุธยาต่อไปหลังจากนั้นทางพม่าได้ใช้กลอุบายให้พระยาจักรีมาเป็นไส้ศึกกรุงศรีอยุธยาจึงเสียแก่พม่าในปี พ.ศ. 2112
       จากเหตุการณ์ในครั้งนี้ ทำให้สมเด็จพระมหินทราธิราชถูกจับไปเป็นเชลยที่หงสาวดี  รวมทั้งข้าราชบริพารอีกจำนวนหนึ่งและทำให้กรุงศรีอยุธยาได้กลายเป็นประเทศราชของกรุงหงสาวดีนับแต่นั้นมาซึ่งนับเป็นการสูญเสียอิสรภาพของคนไทยเป็นครั้งแรก